RPA คืออะไร? ตอบโจทย์ธุรกิจยุคใหม่อย่างไร? หนึ่งในบริการจาก SO

RPA คืออะไร

มากกว่างาน Outsource Service ที่ บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) หรือ SO ให้บริการในปัจจุบันแล้ว ยังมีหนึ่ง Solution ที่ตอกย้ำการเป็นบริษัท Tech-Enable Outsource นั่นคือระบบ Robotic Process Automation (RPA) เพื่อช่วยจัดการกระบวนการ การทำงานของธุรกิจลูกค้า ให้ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งในบทความนี้ จะให้คำตอบว่า RPA คืออะไร ? ตอบโจทย์ธุรกิจในยุคปัจจุบันอย่างไร?

RPA คืออะไร (Robotic Process Automation)

          Robotic Process Automation (RPA) คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้ จำลองการทำงานของมนุษย์ให้ออกมาในรูปแบบการใช้งานที่เรียกว่า “บอท” หรือ ซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งบอทเหล่านี้สามารถทำงานได้หลากหลาย ตามการออกแบบของเรา เพื่อช่วยจัดการกับกระบวนการ การทำงานของแต่ละธุรกิจ เช่น การป้อนข้อมูล, การคำนวณ, การจัดการและการบันทึกไฟล์ ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นการทำงานแบบซ้ำๆ จำนวนมาก ใช้ความแม่นยำสูง

ประเภทการทำงานของ RPA 

          RPA ประกอบด้วยส่วนประกอบหลายส่วน ที่ช่วยให้สามารถคำนวณ และวิเคราะห์กระบวนการ การทำงานของแต่ละธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

                  RPA Bots : เป็นบอท, ซอฟต์แวร์ ที่ทำงานตามกฎหรือลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้ เพื่อทำซ้ำกระบวนการเดิมๆ ได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องมีการเข้าแทรกจากผู้ใช้งาน 

                  Control Room / Dashboard : เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการจัดการและควบคุมบอท ประกอบด้วยฟังก์ชันสำหรับการตั้งค่า, การติดตาม และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบอท 

                  Development Tools : เครื่องมือที่ใช้สำหรับการสร้างและปรับแต่ง ซึ่งรวมถึงการออกแบบลำดับขั้นตอน, การทดสอบ และการดีบัก 

                  Integration Tools : เครื่องมือที่ช่วยให้ RPA สามารถเชื่อมต่อและทำงานร่วมกับระบบอื่นๆ ในองค์กร เช่น ระบบ ERP, CRM หรือฐานข้อมูล 

โดยการทำงานแต่ละประเภทของ RPA จะขึ้นอยู่กับความต้องการและลักษณะของกระบวนการ ในแต่ละธุรกิจองค์กร

โดยจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก 

          1.Attended Automation บอทประเภทนี้ จะทำงานร่วมกับมนุษย์ในกระบวนการต่างๆ ที่ออกแบบไว้ มักใช้ในกระบวนการที่ต้องการการตัดสินใจจากมนุษย์รวมด้วยระหว่างการใช้งาน เช่น บอทที่ช่วยให้พนักงานป้อนข้อมูล หรือการจัดการงาน ที่ต้องใช้ตรรกะหรือวิธีการเฉพาะจากผู้ใช้ 

          2.Unattended Automation บอทที่ทำงานโดยอัตโนมัติเต็มรูปแบบโดยไม่ต้องการการตัดสินใจ หรือวิธีการเฉพาะจากมนุษย์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีลำดับขั้นตอนการทำงานชัดเจนและซ้ำๆ เช่น การประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน หรือการปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูล 

          3.Hybrid RPA บอทที่ผสมผสานระหว่าง Attended และ Unattended Automation สามารถทำงานได้ทั้งในสองรูปแบบ เพื่อการจัดการกระบวนการที่ จำเป็นต้องใช้การตัดสินใจจากผู้ใช้ ควบคู่ไปกับการ แบบซ้ำๆตามลำดับด้วย 

RPA มีความสำคัญ หรือข้อดีอย่างไร เพื่อช่วยเหลือธุรกิจและองค์กร 

          1.เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงาน ด้วยระบบอัตโนมัติของ RPA สามารถจัดการกับกระบวนการที่ต้องทำซ้ำๆ ช่วยลดเวลาที่ใช้ในการทำงานที่ซ้ำซากและต้องการความแม่นยำสูง เช่น การป้อนข้อมูลหรือการประมวลผลเอกสาร พร้อมกับสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชม.โดยไม่มีการหยุดพัก ทำให้กระบวนการทางธุรกิจไม่ถูกขัดจังหวะ

          2.ลดต้นทุนด้านแรงงาน ช่วยลดความต้องการในการจ้างบุคลากรในบางขั้นตอนของกระบวนการการทำงานได้ ซึ่งอาจเป็นขั้นตอนงานที่ทำในรูปแบบเดิมๆ ไม่เพิ่มมูลค่า หรือเป็นขั้นตอนหลักที่วางระบบ ให้ RPA จัดการแทนได้

          3.ปรับปรุงคุณภาพของงาน ด้วยความแม่นยำและความเชื่อถือได้ เนื่องจาก RPA มีความแม่นยำสูงและถูกต้องตามการวางโปรแกรม สามารถลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ได้ 

          4.การปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและพนักงาน ด้วยการทำงานที่รวดเร็วของ RPA เนื่องจากเป็น บอทหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น ทำให้เกิดผลลัพธ์และการจัดการคำขอของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น พร้อมกับลดปริมาณงาน Routine ให้กับพนักงาน ทำให้พนักงานสามารถมุ่งเน้นไปที่งานหลัก ที่สำคัญและต้องการทักษะเฉพาะทางมากขึ้น

          5.การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง RPA มีความยืดหยุ่น ในการปรับสเกลของปริมาณงานได้ตามต้องการ สามารถปรับเพิ่ม หรือลดขนาดการทำงานได้อย่างง่ายดายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงจากลูกค้าและองค์กร ช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวได้เร็วขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดหรือข้อกำหนดทางกฎหมาย 

RPA-LS

ธุรกิจ หรือองค์กรใดบ้าง ที่ควรนำ RPA เข้าไปช่วยจัดการ          

1.ธุรกิจการเงินและการธนาคาร

ธนาคารและสถาบันการเงินมักมีกระบวนการที่ซ้ำๆ เช่น การทำบัญชี, การจัดการการเงิน, การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ซึ่ง RPA สามารถออกแบบวางการจัดการอัตโนมัติ ให้กับกระบวนการเหล่านี้ได้

2.อุตสาหกรรมประกันภัย

กระบวนการเช่น การประมวลผลเคลมประกัน, การจัดการข้อมูลลูกค้า, การบันทึกข้อมูลกรมธรรม์ที่มีจำนวนมาก ซึ่ง RPA ช่วยลดระยะเวลาการทำงาน และความผิดพลาดจากพนักงานได้

3.การดูแลสุขภาพ

การจัดการข้อมูลผู้ป่วย, การจัดการเอกสารทางการแพทย์, การประมวลผลการเรียกเก็บเงิน ทั้งในส่วนของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และคลินิกทั่วไป ก็สามารถนำ RPA เข้าไปช่วยงานได้

4.อุตสาหกรรมการผลิต

การจัดการสต็อกและอุปกรณ์, การติดตามกระบวนการผลิต, การจัดการข้อมูลการจัดส่ง หรือแม้แต่กระทั้งการจัดการและติดตามเรื่องการขนส่ง

5.การค้าปลีก, e-Commerce และการบริการลูกค้า

การจัดการคำสั่งซื้อ, การประมวลผลการคืนสินค้า, การจัดการ จัดเก็บข้อมูลลูกค้า การใช้บอทตอบคำถามซ้ำๆหน้า Page

6.ธุรกิจ HR และการบริหารทรัพยากรมนุษย์

กระบวนการจ้างงาน, การจัดการข้อมูลพนักงาน, การจัดการเงินเดือนและผลประโยชน์, ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรเกิดความผิดพลาด

แนวโน้มในอนาคต 

          การใช้ RPA คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากธุรกิจต่างๆ มองเห็นประโยชน์ในการลดต้นทุน, การเพิ่มความเร็วและความแม่นยำในการทำงาน และการปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและพนักงาน. นอกจากนี้, การรวมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น AI และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง, จะทำให้ RPA มีความสามารถและความฉลาดมากขึ้น, สามารถจัดการกับงานที่ซับซ้อนและมีค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย

RPA-LS-2

RPA มีข้อเสียอย่างไรบ้าง

ในขณะที่ Robotic Process Automation (RPA) มีข้อดีมากมายสำหรับธุรกิจและองค์กร แต่ก็ยังมีข้อเสีย หรือข้อจำกัดที่ควรพิจารณาด้วยเช่นกัน          

1.ข้อจำกัดในความซับซ้อน ไม่สามารถจัดการกับงานที่มีความซับซ้อนสูง RPA ทำงานได้ดีกับกระบวนการที่มีกฎหรือลำดับขั้นตอนที่ตายตัวชัดเจน แต่อาจไม่สามารถจัดการกับงานที่ต้องการการตัดสินใจที่ซับซ้อน หรืองานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ ทักษะเฉพาะทางจากพนักงาน          

2.ความต้องการในการบำรุงรักษาและอัปเดต RPA เป็นระบบที่ถูกเขียนขึ้นในรูปแบบของ บอทหรือซอฟต์แวร์ ทำให้ต้องมีการบำรุงรักษาและอัปเดต อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการแก้ใขข้อบกพร่อง และทำให้บอททำงานได้รวดเร็ว ฉลาดมากขึ้นด้วย          

3.ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและฝึกอบรม RPA อาจมีค่าใช้จ่ายสูงในช่วงเริ่มแรก ซึ่งจะเป็น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง และการเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งาน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพนักงาน ทั้งในส่วนของผู้ใช้งาน และผู้ดูแลระบบด้วย          

4.ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนด การใช้ RPA สร้างความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยของข้อมูล โดยเฉพาะหากมีการจัดการข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ซึ่งต้องมีผู้เชี่ยวชาญดูแล และให้ความสำคัญ กับการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง        

5.ความต้องการในการเตรียมพร้อมด้านเทคนิค ความต้องการทีม IT ที่มีทักษะสูง เพื่อการดูแลและนำ RPA เข้ามาใช้งาน การแก้ใขข้อบกพร่องต่างๆ การออกอัปเดตอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับการวางระบบ Cyber Security เพื่อการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ

          “Robotic Process Automation (RPA) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยอัตโนมัติกระบวนการทางธุรกิจ โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือบอทเพื่อจำลองการทำงานของมนุษย์ในการปฏิสัมพันธ์กับระบบคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันต่างๆ RPA นำเสนอข้อดีมากมาย รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ, ลดต้นทุน, ลดความผิดพลาดจากมนุษย์, และเพิ่มความเชื่อถือได้ในกระบวนการทางธุรกิจ นอกจากนี้ยังช่วยให้พนักงานสามารถมุ่งเน้นไปที่งานที่มีค่าเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม RPA ยังคงมีข้อจำกัดบางประการ เช่น จำเป้นต้องมีผู้เชี่ยวชาญควบคุมดูแลติดตั้ง, ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและฝึกอบรม, ปัญหาการรวมกับระบบเก่า และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูล”

          ซึ่งการที่จะพัฒนา RPA ให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยได้นั้น จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเพื่อการติดตั้งและวางระบบ รวมไปถึงการวิเคราะห์กระบวนการการทำงานของแต่ละธุรกิจ เพื่อให้ RPA ทำงานได้อย่างสอดคล้อง และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดย SONEXT เป็นผู้ให้บริการระบบ RPA แบบเต็มรูปแบบ ทั้งในส่วนของการวิเคราะห์กระบวนการของลูกค้า ออกแบบระบบให้เข้ากับการทำงาน รวมไปถึงดูแลและปรับปรุงให้จนจบกระบวนการ… “ให้ SO NEXT เป็นผู้ช่วยธุรกิจคุณ เพื่อการ LEAN & DIGITIZE YOUR BUSINESS แล้วการทำงานของคุณจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

ติดต่อขอคำปรึกษาจาก SONEXT ฟรี

PHONE : 090-197-8521

WEBSITE : https://www.sonext.asia

LINE OFFICIAL : @SONEXT

EMAIL : [email protected]